“โรงรับจำนำ” ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกด้านการเงินที่คนไทยรู้จักกันมาอย่างยาวนานตั้งแต่สมัยอดีต ที่เปิดให้บริการสำหรับคนทั่วไปที่มีปัญหาเรื่องสภาพคล่องให้ได้มีโอกาสในการหาเงินทุนมาหมุนใช้ด้วยการนำสิ่งของมาจำนำและแลกเป็นเงินกลับไป ซึ่งการจำนำในรูปแบบนี้มีข้อดีที่อัตราดอกเบี้ยที่ถูกกว่าธนาคาร และการกู้นอกระบบต่าง ๆ จึงทำให้โรงรับจำนำได้เข้ามาเป็นหนึ่งในตัวช่วยด้านสินเชื่อเงินกู้ที่คนส่วนใหญ่ไว้วางใจกันมาอย่างยาวนาน โดยในวันนี้เราจึงอยากพาทุกคนมารู้จักกับ โรงรับจำนำเอกชน ให้มากขึ้นว่าแตกต่างจากโรงรับจำนำอื่น ๆ อย่างไร และมีการคิดดอกเบี้ยโรงรับจำนำเอกชนอย่างไรให้ทุกคนได้รู้กันเลย
โรงรับจำนำเอกชน คือ
โรงรับจำนำเอกชน เป็นหนึ่งในแหล่งเงินทุนของภาคเอกชนที่ถูกบริหารโดยเจ้าของ หุ้นส่วน รวมไปถึงเงินทุนหมุนเวียนอื่นที่นำมาใช้ดำเนินการในรูปแบบของโรงรับจำนำ เพื่ออำนวยความสะดวกด้านสภาพคล่องให้กับภาคธุรกิจขนาดเล็ก และบุคคลทั่วไป เนื่องจากโรงรับจำนำเอกชนนั้นให้ราคาที่สูงกว่ารัฐบาล จึงทำให้ครอบคลุมเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจ หรือ เงินทุนฉุกเฉินได้มากกว่า ดังนั้นจึงทำให้คนส่วนใหญ่ที่ต้องการเงินทุนที่สูงกว่าหันมาสนใจในโรงรับจำนำเอกชนมากขึ้น อีกทั้งดอกเบี้ยโรงรับจำนำเอกชนไม่ได้มีอัตราคิดที่สูงเกินกว่ากฎหมายกำหนด จึงทำให้ประชาชนวางใจที่จะนำสิ่งของมาจำนำมากกว่าการกู้นอกระบบ หรือ กู้บัตรเครดิตธนาคารนั่นเอง
อัตราดอกเบี้ยโรงรับจำนำเอกชน
ดอกเบี้ยโรงรับจำนำเอกชน จะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบหลัก ๆ คือ
- มูลค่าของทรัพย์สินไม่เกิน 2,000 บาทแรก อัตราดอกเบี้ย 2%
- มูลค่าทรัพย์สินส่วนที่เกิน 2,000 บาทขึ้นไป อัตราดอกเบี้ย 1.25% ( 15% ต่อปี และไม่เกิน 24% ต่อปี )
ซึ่งดอกเบี้ยโรงรับจำนำเอกชนจะแตกต่างจากโรงรับจำนำรัฐบาลตรงที่การนับดอกเบี้ย โดยภาคเอกชนจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่บนหน้าตั๋วใบล่าสุด และหากมีการนำส่งดอกเบี้ย ไถ่ถอน หรือ อื่น ๆ ภายในระยะเวลา 15 วันจะคิดดอกเบี้ยครึ่งเดือน แต่ถ้าหากเกินกว่านั้นจะนับดอกเบี้ยเป็นหนึ่งเดือนนั่นเอง
พอจะเข้าใจกันบ้างหรือยังเกี่ยวกับโรงรับจำนำเอกชนที่แตกต่างกับรัฐบาลในแง่ของราคาที่จ่ายให้สูงกว่า และดอกเบี้ยโรงรับจำนำเอกชนที่มีระยะเวลาการเริ่มนับดอกเบี้ย และอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่าง ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับในสภาพคล่องของแต่ละบุคคลว่าจะใช้ในรูปแบบไหนกันบ้าง